วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

การศึกษาต่อม.3/2

การศึกษาต่อของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อตัวนักเรียนเพราะนั่นจะเป็นตัวกำหนดอนาคตของเส้นทางอาชีพว่าจะเดินต่อไปในทางใด การศึกษาต่อหลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วการเข้าศึกษาต่อในสายสามัญคือ มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 เป็นการศึกษาในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในช่วงชั้นที่ 4 เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นการศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาต่างๆ ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตามหลักสูตรคือ 3 ปีโดยแบ่งการศึกษาออกเป็นกลุ่มสาระต่างๆ ตามความถนัดและความสนใจของนักเรียน คือ
                1.กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์(วิทย์-คณิต)
                2.กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-คณิตศาสตร์ (ศิลป์-คำนวณ)
                3.กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-ภาษา (ศิลป์-ภาษา)
                4.กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-สังคม (ศิลป์-สังคม)

คุณสมบัติ
1.สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า
2.เป็นโสด ไม่จำกัดอายุ
3.มีผลการเรียนตามที่แต่ละโรงเรียนกำหนด

หลักฐานในการสมัครเข้าศึกษา
1.ใบสมัครของโรงเรียนที่จะเข้าศึกษา
2.สำเนาทะเบียนบ้าน
3.สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียนหรือหลักฐานแสดงการจบการศึกษาชั้น ม.3 หรือเทียบเท่า

โรงเรียนที่เปิดสอน
1.โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
2.โรงเรียนมัธยมศึกษาภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (เช่น โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์)
3.โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยต่างๆ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
4.โรงเรียนเอกชนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

1.ตอบคำถามเรื่องโครงงาน

1.โครงงานคืออะไร?
ตอบ โครงงาน คือ งานวิจัยเล็กๆสำหรับนักเรียน เป็นการแก้ปัญหาหรือข้อสงสัย หาคำตอบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หากเนื้อหาหรือข้อสงสัยเป็นไปตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ใด จะเรียกว่าโครงงานในกลุ่มสาระนั้นๆ 
2.โครงงานมีความสำคัญอย่างไร?
ตอบ   เสริมสร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง   ส่งผลทำให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำโครงงานใหม่ๆที่จะนำไปสู่โลกของงานอาชีพและการศึกษา อีกทั้งโครงงานที่ตนเองสนใจยังก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่กว้างขวาง เป็นการประสานงานทางวิชาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
3.นักเรียนมีหลักการเลือกหัวข้อโครงงานอย่างไร?
ตอบ  สำรวจความถนัด  ความพร้อมและความสนใจ
             สำรวจสิ่งอำนวยความสะดวก
            สังเกตสภาพแวดล้อม
4.ใครเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดในการทำโครงงาน?
ตอบ เจ้าของโครงงาน
5.นักเรียนมีวิธีการเลือกใช้ทรัพยากรในการทำโครงงานอย่างไร?
ตอบ  สิ่งที่มีอยู่แล้ว หรือทรัพยากรในชุมชน
6.ถ้าโครงงานที่ต้องการทำมีผู้อืนที่ทำไปแล้วนักเรียนควรแก้ปัญหา
อย่างไร ?
ตอบ เลือกโครงงานอืนๆ ที่เราถนัด
7.นักเรียนคิดว่าโครงงานเทคโนโลยีสาระสนเทศจำเป็นต้องมีการใช้คอมผิวเตอร์ในขบวนการทำงานหรือไม่ ?
ตอบ จำเป็น เพราะต้องใช้ในการศึกษาหาข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้อง

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

                                  โครงงาน เรื่อง

              การศึกศาต่อเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที ๓

                                    ผู้จัดทำ 

              ด.ช.ขจรเดช       แก้วเฝือ       เลขที่ ๓
                   
                     ด.ช.ภาณุวัฒน์    เบ็ญมาส      เลขที่๕  
  
              ด.ช.ศักดิ์ศรย์      พระพิไชย    เลขที่๖

                            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2
                        โรงเรียนเทศบาล๒(วัดช่องลม)  
           โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 
                     
                                ปีการศึกษา ๒๕๕๗          
         ครูผู้สอน    นางสาวพจชมาศ    ทองทับทิม 

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ลักษณะของโครงงาน

ลักษณะของโครงงาน
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2524 : 4) ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของโครงงานไว้ดังนี้
1. เป็นเรื่องที่นักเรียนสนใจสงสัยต้องการหาคำตอบ
2. เป็นการเรียนรู้ที่มีกระบวนการ มีระบบ ครบกระบวนการ
3. เป็นการบูรณาการการเรียนรู้
4. นักเรียนใช้ความสามารถหลายด้าน
5. มีความสอดคล้องกับชีวิตจริง
6. มีการศึกษาอย่างลุ่มลึก ด้วยวิธีการและแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
7. เป็นการแสวงหาความรู้และสรุปความรู้ด้วยตนเอง
8. มีการนำเสนอโครงงานด้วยวิธีการที่เหมาะสมในด้านกระบวนการและผลงานที่ค้นพบ
9. ข้อค้นพบ สิ่งที่ค้นพบ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
จิราภรณ์ ศิริทวี (2542 : 35) แบ่งโครงงาน ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ เป็นโครงงานที่บูรณาการความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ในกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นพื้นฐานในการกำหนดโครงงานและการปฏิบัติ
2. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนกำหนดขั้นตอนตามความถนัดความสนใจ และความต้องการ โดยการนำเอาความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ มาบูรณาการกำหนดเป็นโครงงานและการปฏิบัติ
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ (2543 : 198) กล่าวถึงลักษณะสำคัญของโครงงานไว้เช่นกันว่า
1. ผู้เรียนได้เลือกเรื่องหรือประเด็นที่จะศึกษาด้วยตนเอง ซึ่งอาจจะเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้
2. ผู้เรียนเป็นผู้เลือกวิธีการศึกษาและแหล่งความรู้
3. ผู้เรียนเป็นผู้ศึกษาหรือลงมือปฏิบัติด้วยตนเองทุกขั้นตอน
4. การศึกษานั้นมีการเชื่อมโยงหรือบูรณาการระหว่างความรู้/ทักษะ/ ประสบการณ์เดิมกับสิ่งใหม่
5. ผู้เรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เรียน
นอกจากลักษณะสำคัญของโครงงานดังกล่าวแล้ว วิมลศรี สุวรรณรัตน์ และมาฆะ ทิพย์คีรี (2543 : 4) ได้แบ่งลักษณะของโครงงานโดยมีความสอดคล้องกับ สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ (2543 : 199) โดยแบ่งโครงงานออกเป็น 2 ลักษณะ พอจะสรุปได้ดังนี้
1. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนเลือกหัวข้อที่จะศึกษาโดยมีกรอบการทำงานภายใต้จุดประสงค์ของการเรียนรู้ในเนื้อหาแต่ละเรื่องมากำหนดเป็นหัวข้อโครงงาน
2. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนสนใจจะศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ ซึ่งอาจอยู่นอกเหนือจากสาระการเรียนรู้ในบทเรียน แต่ใช้ประสบการณ์จากการเรียนรู้ไปแสวงหาคำตอบในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ
สรุปได้ว่า ลักษณะของโครงงาน เป็นการให้ผู้เรียนเลือกหัวข้อหรือประเด็นที่จะศึกษาด้วยตนเอง แล้วลงมือปฏิบัติโดยอาศัยการศึกษา ลงมือปฏิบัติและมีการแลกเปลี่ยนความรู้จากประสบการณ์จากการเรียนเพื่อค้นหาคำตอบ